วันจันทร์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2555

สรรพคุณสมุนไพรของยำสมุนไพรกรอบกระเทียมดอง

สรรพคุณ
ตะไคร้
สรรพคุณ
ทั้งต้น : ใช้เป็นยารักษาโรคหืด แก้ปวดท้อง ขับปัสสาวะและแก้อหิวาตกโรค หรือทำเป็นยาทานวดก็ได้ และยังใช้รวมกับสมุนไพร
ชนิดอื่นรักษาโรคได้ เช่น บำรุงธาตุ เจริญอาหาร และขับเหงื่อ
หัว : เป็นยารักษาเกลื้อน แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ แก้ปัสสาวะพิการ แก้นิ่ว บำรุงไฟธาตุ แก้อาการขัดเบา ถ้าใช้รวมกับสมุนไพรชนิดอื่น
 จะเป็นยาแก้อาเจียน แก้ทราง ยานอนหลับลดความดันสูง แก้ลมอัมพาต แก้กษัยเส้น และแก้ลมใบ ใบสด ๆ จะช่วยลดความดันโลหิตสูง
 แก้ไข้
ราก : ใช้เป็นยาแก้ไข้เหนือ ปวดท้องและท้องเสีย
ต้น : ใช้เป็นยาแก้ขับลม แก้เบื่ออาหาร แก้ผมแตก แก้โรคทางเดินปัสสาวะ นิ่ว เป็นยาบำรุงไฟธาตุให้เจริญ แต่ถ้าเอาผสมกับสมุนไพรชนิดอื่น
 จะแก้โรคหนองใน และนอกจากนี้ยังใช้ดับกลิ่นคาวด้วย
หอมแด
สรรพคุณทางยา :หัวหอม มีรสฉุน ช่วยขับลม แก้ท้องอืด ช่วยย่อยและเจริญอาหาร แก้บวมน้ำ แก้อาการอักเสบต่าง ๆ ขับพยาธิ ช่วยให้ร่างกายอบอุ่น เมล็ด แก้อาเจียนเป็นเลือด แก้กินเนื้อสัตว์เป็นพิษ ร่างกายซุบผอม (ใช้เมล็ดแห้ง 5-10 กรัมต้มน้ำดื่ม) ตำรายาไทยใช้หัวหอมแดง ผสมรวมกับเหง้าเปราะหอมสุมหัวเด็ก แก้หวัดคัดจมูก และกินเป็นยาขับลม หอมแดงมีสารเคอร์ซิติน และสารฟลาโวนอยด์ (quercetin และ flavonoid glycosides) อาจป้องกันโรคมะเร็งได้
มะนาว
                                                       
ลักษณะทั่วไปของมะนาวเป็นไม้ยืนต้นขนาดเล็กทรงพุ่ม ตัวใบรูปร่างกลมรี ขอบใบหยักเล็กน้อย ปลายและโคนใบมน
 ดอกเล็กสีขาวอมเหลือง กลิ่นหอมอ่อน ๆ ผลกลมเปลือกบางเรียบ มีน้ำชุ่มมาก รสเปรี้ยว เปลือกผลมีน้ำมัน กลิ่นหอม
 รสขม สามารถปลูกได้ในดินทุกชนิด โดยเฉพาะดินร่วนซุยและระบายน้ำได้ดี ควรปลูกในฤดูฝนช่วงที่ปลูกใหม่ ๆ 
ต้องรดน้ำทุกวันและไม่ควรโดนแดดมาก 

โดยมีความเชื่อตามตำราพรหมชาติฉบับหลวงกล่าวไว้ว่า มะนาวเป็นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่ควรปลูกไว้ในบริเวณบ้าน 
กำหนดปลูกทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ (พายัพ) เพื่อผู้ที่อยู่อาศัยในบ้านจะได้มีความสุขสวัสดี 
มะนาว เป็นผลไม้ที่มีกรดอินทรีย์หลายชนิด เช่น กรดซิตริก กรดมาลิค วิตามินซี ซึ่งได้จากน้ำมะนาว ส่วนน้ำมันหอมระเหย
จากผิวมะนาวมีวิตามินเอและซี รวมทั้งมีธาตุแคลเซียมและฟอสฟอรัสสูงกว่าในน้ำมะนาว มีสรรพคุณทางยาคือ เปลือกผ
ล มีรสขม ช่วยขับลม รักษาอาการท้องอืด ท้องเฟ้อ แน่นจุกเสียด 

ยำกรอบสมุนไพรกระเทียมดอง

ยำกรอบสมุนไพรกระเทียมดอง
                                                      
ส่วนผสม
  • เนื้อปลา                    400 กรัม
  • แป้งโกกิหรือแป้งสาลี    50 กรัม
  • ตะไคร้                          2  ต้น
  • หอมแดงหั่นลูกเต๋า         1  หัวใหญ่
  • ใบมะกรูดซอยฝอย          1 ช้อนโต๊ะ
  • กระเทียมดอง                 1 หัว
  • ใบสะระแหน่
    ส่วนผสมน้ำยำ
    • พริกชี้ฟ้าแดงหรือพริกขี้หนูสีเขียว สีแดง                     1 ช้อนโต๊ะ
    • น้ำมะนาว                                                                2 ช้อนโต๊ะ
    • น้ำปลา                                                                   4 ชอ้นชา
    • น้ำกระเทียมดอง                                                       2 ช้อนโต๊ะ
    • น้ำตาลทราย                                                          1/3 ช้อนชา
      เตรียมส่วนผสมทุกอย่างไว้เลยค่ะ มะนาว ตะไคร้ หอมแดง พริกชี้ฟ้า ใบมะกรูด
                            
      ใช้พริกชี้ฟ้าแดงค่ะ หาพริกขี้หนูไม่ได้ เมนูยำถ้าใช้พริกขี้หนูจะหอม สีเขียว แดงเพิ่มสีสันสวยงาม
                            
      ใบมะกรูดซื้อมาทีเดียวเป็นถุงๆใช้ไม่หมดก็เก็บใส่ช่องฟรีชไว้ พอจะใช้ก็เอาออกมาล้างๆ แป๊บเดียวก็ใช้ได้แล้วค่ะ
                             
      หอมแดงใช้แบบหัวโตๆหน่อย 1 หัว หั่นสี่เหลี่ยม ใช้แบบหัวเล็กก็ได้ค่ะ หอมดี แต่รสออกจะเผ็ดไปนิด หัวโตๆจะออกหวาน ทำยำอร่อย หัวเล็กปกติจะใส่พวกลาบ จะอร่อยกว่า
                               
      ตะไคร้ซอยแว่นบางๆ 
                                 
      มะนาวไม่ค่อยเปรี้ยวเลยวันนี้เลยใช้ไปสองลูกแหน่ะ
                                   
     พอเตรียมส่วนผสมแล้วก็ ล้างปลาให้สะอาด หั่นพอคำ นำไปคลุกกับแป้งโกกิ แล้วทอดให้เหลือง กรอบ
                                             
    ผสมเครื่องยำ และผักต่างๆ คลุกเคล้าให้เข้ากัน
                                               
    จัดปลาใส่จาน แล้วราดด้วยน้ำยำ แค่นี้ก็ได้ยำสมุนไพร อร่อยๆแล้วค่ะ
                                                 
    ใครที่ไม่ชอบทานกระเทียมสด แบบดองก็น่าจะกินได้นะคะ รสจะอ่อนกว่า เวลากินก็ตักทุกๆอย่าง รวมๆกัน กินพร้อมกัน จะได้รสชาติ แซ่บๆ เข้ากันเชียวล่ะ
                                                    
    โรยหน้าด้วยเม็ดมะม่วงหิมพานต์และใบสะระแหน่  อร่อยนะเนี่ย
                                                     
    เลยได้ทานยำสมใจ อย่าลืมไปลองทำดูนะคะ รสชาติอ่อน จัด เติมได้ตามใจอยู่แล้ว
                                                     
    อ้างอิง

วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2554

น้ำยาเอนกประสงค์

สูตรน้ำยาล้างจาน น้ำยาเอนกประสงค์
ส่วน​ผสม
  • N70 (หัวแชมพู)                     1     ​กิ​โลกรัม
  • F24 (สารขจัดคราบไขมัน)      1/2  ​กิ​โลกรัม
  • เกลือ​                                    1-1.5 ​กิ​โลกรัม
วิธีทำ
  1. ต้มเกลือ​โดย​ใช้​น้ำ​ 2-3 ​ลิตร​ ​จนเกลือละลายหมด​ ​ตั้ง​ไว้​จนเย็น
  2. เอา​ N 7O ​ผสม​กับ​ F 24 ​กวน​ให้​เข้า​กัน​ ​ราว​ 10 ​นาที
  3. ค่อยๆ​เทน้ำ​เกลือลงไปทีละน้อยๆ​ ​แล้ว​กวน​ให้​เข้า​กัน​ ​จนหมด
  4. หลัง​จาก​นั้น​ ​เติมน้ำ​ลงไป​และ​กวนเรื่อยๆ​ ​โดย​ใช้​น้ำ​ประมาณ​ 10-15 ​ลิตร​ ​ทั้ง​นี้​ให้​สังเกตว่า​ ​ความ​ข้นของน้ำ​ยาอเนกประสงค์​ ​หาก​ยัง​ข้น​หรือ​เหนียวมาก​ ​ก็​สามารถ​เติมน้ำ​เปล่า​ ​ลงไป​ได้​อีก​ ​จนเห็นว่า​ ​ได้​ความ​ข้นที่​เหมาะสม
  5. ใส่​หัวน้ำ​หอม​ ​กวน​ให้​เข้า​กัน​ ​แล้ว​ตั้งทิ้ง​ไว้​จนฟองยุบ​(1 ​คืน) ​แล้ว​ตัก​ใส่​ขวดเอา​ไว้​ใช้
                                        
การทำแชมพูสมุนไพร
ส่วนผสมว่านหางจระเข้   2   ถ้วยตวง
น้ำมะกรูด   1   ถ้วย
น้ำสะอาด    2   ลิตร (หรือ 2 ก.ก.)
หัวแชมพู   1   กิโลกรัม
ผงข้น   1  ขีด (หรือ 100 กรัม)
ลาโนลีนเม็ด   1  ขีด (100 กรัม)
ผงฟอง   1  ขีด (100 กรัม)
น้ำหอม   25  ซีซี (100 ซีซี. = 1 ช้อนแกง)
                                    
วิธีทำ     นำว่านหางจระเข้ปลอกเปลือกแล้วสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ หรือใช้เครื่องปั่นให้ละเอียด ตวงให้ได้ 2 ถ้วยตวง คั้นน้ำมะกรูพดกรองเอากากเม็ดออก ตวง 1 ถ้วยตวง และผสมน้ำสะอาดอีก 2 ลิตร (หรือ 2 ก.ก.)  กรองด้วยผ้าขาวบางแล้วนำไปต้มให้เดือดสัก 10 นาที ใส่ลาโนลีนคนให้ละลายแล้วให้เดือดอีก 10 นาที ยกลงมาจากเตาใส่ผงซักฟอก คนให้ละลายใส่หัวแชมพูคนให้เข้ากันแล้วทิ้งไว้ให้เย็น ใส่ผงข้นจำนวน  1 ขีด ถ้าใส่ผงข้นมากกว่านี้จะทำให้เวลาสระ คันศีรษะ ใส่น้ำหอมแล้วบรรจุขวด (ผงข้นใส่ตอนแชมพูที่ทำใกล้เย็นจะทำให้แชมพูข้นดี)

ไผ่

ประโยชน์จากไม้ไผ่
1.  ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ
-   ป้องกันการพังทลายของดินตามริมฝั่ง
-   ช่วยเป็นแนวป้องกันลมพายุ
-   ชะลอความเร็วของกระแสน้ำป่าเมื่อฤดูน้ำหลากกันภาวะน้ำท่วมฉับพลัน
-   ให้ความร่มรื่น
-   ใช้ประดับสวน จัดแต่งเป็นมุมพักผ่อนหย่อนใจในบ้านเรือน
2.  ประโยชน์จากลักษณะทางฟิสิกส์ 3.  ประโยชน์จากลักษณะทางเคมีของไม้ไผ่
4  การใช้ไม้ไผ่ในผลิตภัณฑ์หัตถกรรม และอุสาหกรรม  แบ่งออกได้   ดังนี้        ผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานจากเส้นตอก ได้แก่ กระจาด  กระบุง  กระด้ง  กระเช้าผลไม้  ตะกร้าจ่ายตลาด  ชะลอม  ตะกร้าใส่ขยะ  กระเป๋าถือสตรี   เข่งใส่ขยะ  เครื่องมือจับสัตว์น้ำ เช่น ข้องใส่ปลา  ลอบ  ไซ ฯลฯ
เครื่องจักสานในภาคเหนือ
ซ้าหวด เป็นภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ สูงประมาณ 9 นิ้ว เส้นรอบวงประมาณ 30 นิ้ว ก้นเหลี่ยม
ปากกลมใช้ใส่ข้าวเหนียวหลัง จากแช่น้ำไว้ปล่อยให้สะเด็ดน้ำ ก่อนนำไปใส่ไหข้าวนึ่ง
ก่องข้าว เป็นภาชนะสำหรับใส่ข้าวหนียว 
แอ้บข้าว
หรือ แอบข้าว เป็นภาชนะใส่ข้าวเหนียวเหมือนก่องข้าวแต่ขนาดเล็กกว่า 
โตก
เป็นที่วางกับข้าวคล้ายโต๊ะอาหาร มีรูปร่างกลม มีขาสูงประมาณ 1 ฟุตมีทั้งที่สานด้วย
ไม้ไผ่และหวาย และที่ทำด้วยไม้สัก บางทีก็เรียก ขันโตก 



เครื่องจักสานในภาคเหนือ




เครื่องจักสาน เชียงใหม่,ร้านขายเครื่องจักสาน เชียงใหม่,ร้านจำหน่ายเครื่องจักสาน เชียงใหม่เครื่องจักสาน เชียงใหม่,ร้านขายเครื่องจักสาน เชียงใหม่,ร้านจำหน่ายเครื่องจักสาน เชียงใหม่
เครื่องจักสาน เชียงใหม่,ร้านขายเครื่องจักสาน เชียงใหม่,ร้านจำหน่ายเครื่องจักสาน เชียงใหม่
เครื่องจักสาน เชียงใหม่,ร้านขายเครื่องจักสาน เชียงใหม่,ร้านจำหน่ายเครื่องจักสาน เชียงใหม่

วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ไม้ไผ่

ไผ่ในประเทศ
ในประเทศไทยนั้น พบไผ่อยู่ 30 ชนิด ดังนี้
  ไผ่ข้าวหลาม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cephalostachyum pergracile )

  • ไผ่คายดำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gigantochloa compressa)

  • ไผ่โจด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Arundinaria cililta)

  • ไผ่ซาง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus strictus)

  • ไผ่ซางคำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus latiflorus)

  • ไผ่ซางนวล (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus membranaceus)

  • ไผ่ซางหม่น (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus sericeus )

  • ไผ่ตง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus aspe)

  • ไผ่ตากวาง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gigantochloa kurzii)

  • ไผ่บง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa nutans)

  • ไผ่บงคาย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gigantochloa hosseusii)

  • ไผ่บงดำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa tulda)

  • ไผ่บงป่า (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa longispatha)

  • ไผ่บงหนาม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa burmanica)

  • ไผ่ป่า (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa bambos)

  • ไผ่เพ็ก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Vietnamosasa pusilla)

  • ไผ่รวก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Thyrsostachys siamensis)

  • ไผ่รวกดำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Thyrsostachys oliveri)

  • ไผ่ไร่ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gigantochloa albociliata)

  • ไผ่ลำมะลอก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa longispiculatar)

  • ไผ่เลี้ยง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa mulfiplex)

  • ไผ่หวาน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa sp.)

  • ไผ่สีสุก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa blumeana)

  • ไผ่หก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus hamiltonii)

  • ไผ่หลอด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Neohouzeaua mekongensis)

  • ไผ่หอม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa polymorpha)

  • ไผ่เหลือง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa vulgaris)

  • ไผ่เฮียะ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cephalostachyum virgatum)

  • อ้างอิง
    http://th.wikipedia.org/wiki

    วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

    แกะสลัก มะละกอ

    แกะสลัก มะละกอ
                                                         
    ลายผีเสื้อบาน
            ดอกตูม             
    ดอกรักเร่               

    ประโยชน์และความสำคัญ

    ประโยชน์และความสำคัญ
    
    มะละกอเป็นพืชที่เป็นได้ทั้งผักและผลไม้ โดยผล ดิบส่วนใหญ่จะใช้ เป็นผัก ที่ทำ ประโยชน์หรือ ทำอาหาร ได้มากมาย ส่วนผลสุกใช้เป็น ผลไม้ มีรสชาติอร่อย
     และยังมีวิตามินสูงอีกด้วย
    พันธุ์ที่นิยมปลูก
    ถึงแม้ว่ามะละกอจะมีมากมายหลายพันธุ์ แต่เนื่องจากมะละกอเป็นพืชที่มีความ ไว่ต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม
    จึงมีอยู่ไม่กี่พันธุ์เท่านั้นที่เหมาะกับสภาพดินฟ้า อากาศของบ้านเรา คือ พันธุ์พื้นเมือง พันธุ์แขกดำ พันธุ์โกโก้ และพันธุ์
    สายน้ำผึ้ง