วันจันทร์ที่ 12 ธันวาคม พ.ศ. 2554

น้ำยาเอนกประสงค์

สูตรน้ำยาล้างจาน น้ำยาเอนกประสงค์
ส่วน​ผสม
  • N70 (หัวแชมพู)                     1     ​กิ​โลกรัม
  • F24 (สารขจัดคราบไขมัน)      1/2  ​กิ​โลกรัม
  • เกลือ​                                    1-1.5 ​กิ​โลกรัม
วิธีทำ
  1. ต้มเกลือ​โดย​ใช้​น้ำ​ 2-3 ​ลิตร​ ​จนเกลือละลายหมด​ ​ตั้ง​ไว้​จนเย็น
  2. เอา​ N 7O ​ผสม​กับ​ F 24 ​กวน​ให้​เข้า​กัน​ ​ราว​ 10 ​นาที
  3. ค่อยๆ​เทน้ำ​เกลือลงไปทีละน้อยๆ​ ​แล้ว​กวน​ให้​เข้า​กัน​ ​จนหมด
  4. หลัง​จาก​นั้น​ ​เติมน้ำ​ลงไป​และ​กวนเรื่อยๆ​ ​โดย​ใช้​น้ำ​ประมาณ​ 10-15 ​ลิตร​ ​ทั้ง​นี้​ให้​สังเกตว่า​ ​ความ​ข้นของน้ำ​ยาอเนกประสงค์​ ​หาก​ยัง​ข้น​หรือ​เหนียวมาก​ ​ก็​สามารถ​เติมน้ำ​เปล่า​ ​ลงไป​ได้​อีก​ ​จนเห็นว่า​ ​ได้​ความ​ข้นที่​เหมาะสม
  5. ใส่​หัวน้ำ​หอม​ ​กวน​ให้​เข้า​กัน​ ​แล้ว​ตั้งทิ้ง​ไว้​จนฟองยุบ​(1 ​คืน) ​แล้ว​ตัก​ใส่​ขวดเอา​ไว้​ใช้
                                        
การทำแชมพูสมุนไพร
ส่วนผสมว่านหางจระเข้   2   ถ้วยตวง
น้ำมะกรูด   1   ถ้วย
น้ำสะอาด    2   ลิตร (หรือ 2 ก.ก.)
หัวแชมพู   1   กิโลกรัม
ผงข้น   1  ขีด (หรือ 100 กรัม)
ลาโนลีนเม็ด   1  ขีด (100 กรัม)
ผงฟอง   1  ขีด (100 กรัม)
น้ำหอม   25  ซีซี (100 ซีซี. = 1 ช้อนแกง)
                                    
วิธีทำ     นำว่านหางจระเข้ปลอกเปลือกแล้วสับเป็นชิ้นเล็ก ๆ หรือใช้เครื่องปั่นให้ละเอียด ตวงให้ได้ 2 ถ้วยตวง คั้นน้ำมะกรูพดกรองเอากากเม็ดออก ตวง 1 ถ้วยตวง และผสมน้ำสะอาดอีก 2 ลิตร (หรือ 2 ก.ก.)  กรองด้วยผ้าขาวบางแล้วนำไปต้มให้เดือดสัก 10 นาที ใส่ลาโนลีนคนให้ละลายแล้วให้เดือดอีก 10 นาที ยกลงมาจากเตาใส่ผงซักฟอก คนให้ละลายใส่หัวแชมพูคนให้เข้ากันแล้วทิ้งไว้ให้เย็น ใส่ผงข้นจำนวน  1 ขีด ถ้าใส่ผงข้นมากกว่านี้จะทำให้เวลาสระ คันศีรษะ ใส่น้ำหอมแล้วบรรจุขวด (ผงข้นใส่ตอนแชมพูที่ทำใกล้เย็นจะทำให้แชมพูข้นดี)

ไผ่

ประโยชน์จากไม้ไผ่
1.  ด้านการอนุรักษ์ธรรมชาติ
-   ป้องกันการพังทลายของดินตามริมฝั่ง
-   ช่วยเป็นแนวป้องกันลมพายุ
-   ชะลอความเร็วของกระแสน้ำป่าเมื่อฤดูน้ำหลากกันภาวะน้ำท่วมฉับพลัน
-   ให้ความร่มรื่น
-   ใช้ประดับสวน จัดแต่งเป็นมุมพักผ่อนหย่อนใจในบ้านเรือน
2.  ประโยชน์จากลักษณะทางฟิสิกส์ 3.  ประโยชน์จากลักษณะทางเคมีของไม้ไผ่
4  การใช้ไม้ไผ่ในผลิตภัณฑ์หัตถกรรม และอุสาหกรรม  แบ่งออกได้   ดังนี้        ผลิตภัณฑ์เครื่องจักสานจากเส้นตอก ได้แก่ กระจาด  กระบุง  กระด้ง  กระเช้าผลไม้  ตะกร้าจ่ายตลาด  ชะลอม  ตะกร้าใส่ขยะ  กระเป๋าถือสตรี   เข่งใส่ขยะ  เครื่องมือจับสัตว์น้ำ เช่น ข้องใส่ปลา  ลอบ  ไซ ฯลฯ
เครื่องจักสานในภาคเหนือ
ซ้าหวด เป็นภาชนะสานด้วยไม้ไผ่ สูงประมาณ 9 นิ้ว เส้นรอบวงประมาณ 30 นิ้ว ก้นเหลี่ยม
ปากกลมใช้ใส่ข้าวเหนียวหลัง จากแช่น้ำไว้ปล่อยให้สะเด็ดน้ำ ก่อนนำไปใส่ไหข้าวนึ่ง
ก่องข้าว เป็นภาชนะสำหรับใส่ข้าวหนียว 
แอ้บข้าว
หรือ แอบข้าว เป็นภาชนะใส่ข้าวเหนียวเหมือนก่องข้าวแต่ขนาดเล็กกว่า 
โตก
เป็นที่วางกับข้าวคล้ายโต๊ะอาหาร มีรูปร่างกลม มีขาสูงประมาณ 1 ฟุตมีทั้งที่สานด้วย
ไม้ไผ่และหวาย และที่ทำด้วยไม้สัก บางทีก็เรียก ขันโตก 



เครื่องจักสานในภาคเหนือ




เครื่องจักสาน เชียงใหม่,ร้านขายเครื่องจักสาน เชียงใหม่,ร้านจำหน่ายเครื่องจักสาน เชียงใหม่เครื่องจักสาน เชียงใหม่,ร้านขายเครื่องจักสาน เชียงใหม่,ร้านจำหน่ายเครื่องจักสาน เชียงใหม่
เครื่องจักสาน เชียงใหม่,ร้านขายเครื่องจักสาน เชียงใหม่,ร้านจำหน่ายเครื่องจักสาน เชียงใหม่
เครื่องจักสาน เชียงใหม่,ร้านขายเครื่องจักสาน เชียงใหม่,ร้านจำหน่ายเครื่องจักสาน เชียงใหม่

วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ไม้ไผ่

ไผ่ในประเทศ
ในประเทศไทยนั้น พบไผ่อยู่ 30 ชนิด ดังนี้
  ไผ่ข้าวหลาม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cephalostachyum pergracile )

  • ไผ่คายดำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gigantochloa compressa)

  • ไผ่โจด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Arundinaria cililta)

  • ไผ่ซาง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus strictus)

  • ไผ่ซางคำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus latiflorus)

  • ไผ่ซางนวล (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus membranaceus)

  • ไผ่ซางหม่น (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus sericeus )

  • ไผ่ตง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus aspe)

  • ไผ่ตากวาง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gigantochloa kurzii)

  • ไผ่บง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa nutans)

  • ไผ่บงคาย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gigantochloa hosseusii)

  • ไผ่บงดำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa tulda)

  • ไผ่บงป่า (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa longispatha)

  • ไผ่บงหนาม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa burmanica)

  • ไผ่ป่า (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa bambos)

  • ไผ่เพ็ก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Vietnamosasa pusilla)

  • ไผ่รวก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Thyrsostachys siamensis)

  • ไผ่รวกดำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Thyrsostachys oliveri)

  • ไผ่ไร่ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gigantochloa albociliata)

  • ไผ่ลำมะลอก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa longispiculatar)

  • ไผ่เลี้ยง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa mulfiplex)

  • ไผ่หวาน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa sp.)

  • ไผ่สีสุก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa blumeana)

  • ไผ่หก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus hamiltonii)

  • ไผ่หลอด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Neohouzeaua mekongensis)

  • ไผ่หอม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa polymorpha)

  • ไผ่เหลือง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa vulgaris)

  • ไผ่เฮียะ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cephalostachyum virgatum)

  • อ้างอิง
    http://th.wikipedia.org/wiki

    วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

    แกะสลัก มะละกอ

    แกะสลัก มะละกอ
                                                         
    ลายผีเสื้อบาน
            ดอกตูม             
    ดอกรักเร่               

    ประโยชน์และความสำคัญ

    ประโยชน์และความสำคัญ
    
    มะละกอเป็นพืชที่เป็นได้ทั้งผักและผลไม้ โดยผล ดิบส่วนใหญ่จะใช้ เป็นผัก ที่ทำ ประโยชน์หรือ ทำอาหาร ได้มากมาย ส่วนผลสุกใช้เป็น ผลไม้ มีรสชาติอร่อย
     และยังมีวิตามินสูงอีกด้วย
    พันธุ์ที่นิยมปลูก
    ถึงแม้ว่ามะละกอจะมีมากมายหลายพันธุ์ แต่เนื่องจากมะละกอเป็นพืชที่มีความ ไว่ต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม
    จึงมีอยู่ไม่กี่พันธุ์เท่านั้นที่เหมาะกับสภาพดินฟ้า อากาศของบ้านเรา คือ พันธุ์พื้นเมือง พันธุ์แขกดำ พันธุ์โกโก้ และพันธุ์
    สายน้ำผึ้ง

    มะละกอสร้างชาติ




                                      
                                                         
    ลักษณะทั่วไป
    มะละกอเป็นไม้ล้มลุก (บางครั้งอาจเข้าใจผิดว่าเป็นไม้ยืนต้น) ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว 5-9 แฉก
    เกาะกลุ่มอยู่ด้านบนสุดของลำต้น ภายในก้านใบและใบมียางเหนียวสีขาวอยู่ มะละกอบางต้นอาจมีดอก
    เพียงเพศเดียว แต่บางต้นอาจมีดอกได้ทั้งสองเพศก็ได้ ผลเป็นรูปรี อาจหนักได้ถึง 9 กิโลกรัม ผลดิบมีสีเขียว
     และมีน้ำยางสีขาวสะสมอยู่ที่เปลือก ส่วนผลสุก เนื้อในจะมีสีเหลืองถึงส้ม มีเมล็ดสีดำเล็ก ๆ อยู่ภายในกิน
    ไม่ได้
    ประโยชน์
    นอกจากการนำมะละกอไปรับประทานสด ๆ แล้ว เรายังสามารถนำไปปรุงอาหาร เช่น ส้มตำ แกงส้ม ฯลฯ
    หรือนำไปหมักเนื้อให้นุ่มได้อีกด้วย เพราะในมะละกอมีเอนไซม์ชนิดหนึ่งเรียกว่า พาเพน (Papain) ซึ่ง
    สามารถนำเอนไซม์ชนิดนี้ไปใส่ในผงหมักเนื้อสำเร็จรูป บางครั้งนำไปทำเป็นยาช่วยย่อยสำหรับผู้ที่มีปัญหา
    อาหารไม่ย่อยก็ได้
    มะละกอ
    (อังกฤษ: Papaya, คำเมือง: เป็นไม้ผลชนิดหนึ่ง สูงประมาณ 5-10 เมตร มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง
    ถูกนำเข้าสู่ประเทศไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผลดิบมีสีเขียว เมื่อสุกแล้วเนื้อในจะมีสีเหลืองถึงส้ม
    นิยมนำมารับประทานทั้งสดและนำไปปรุงอาหาร เช่น ส้มตำ ฯลฯ หรือนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ
    ก็ได้

    กล้วย

    สายพันธุ์กล้วย
    
    ในเมืองไทยเรานี้มีกล้วยอยู่มากมายหลายพันธุ์ บางท่านอาจจะรู้จักแต่ กล้วยหอม กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ แต่ความจริงแล้วยังมีกล้วยอีกหลายชนิด ทั้งกล้วยที่ทานได้ กล้วยประดับตกแต่งหรือกล้วยสวยงามนั่นเอง และอีกทั้งในกล้วยหอม หรือกล้วยน้ำว้าก็ตาม ยังสามารถแตกออกได้อีกเป็นหลายพันธุ์
    ในสวนลุงตี๋ได้รวบรวมพันธุ์ของกล้วยต่างๆไว้ ดังนี้
                       1 กล้วยหอมทอง
                        2 กล้วยหอมเชียงราย หรือ กล้วยหอมกะเหรี่ยง
                    3 กล้วยน้ำว้าค่อม
                       4 กล้วยน้ำว้าดำ
                                             

    ความเชื่อเกี่ยวกับกล้วย


    ความเชื่อเกี่ยวกับกล้วย
         นางพรายตานี
          เชื่อกันว่า นางพรายตานี เป็นผีที่อาศัยอยู่ในต้นกล้วยตานีเป็นผีผู้หญิง หน้าตาสวยงาม ผิวขาว
    มักจะปรากฏให้เห็นตอนกลางคืนโดยจะออกมายืน หรือนั่งเล่นอยู่ใต้ต้นกล้วยตานี มีข้อสังเกตุว่า
    ต้นกล้วยที่มีนางพรายตานีสิงอยู่มักจะมีลำต้นสะอาด ไม่มีกาบแห้ง ใบของกล้วยจะเขียวสดใส และ
    บริเวณรอบต้นกล้วยก็จะสะอาด โล่งเตียน
     กุมารทองตานี
          กุมารทองตานี ได้มาจากปลีกล้วยตานี ซึ่งแทนที่จะ
    แทงปลีออกจากยอดบนสุดของต้นกล้วย แต่กลับแทงปลี
    ออกมาจากลำต้น เชื่อกันว่า ปลีกล้วยชนิดนี้จะมีกุมาร
    ทองสิงสถิตอยู่ หากผู้ใดนำไปเลี้ยงดูแลรักษาให้ดีจะ
    ทำคุณให้แก่ผู้นั้น เช่นเดียวกับกุมารทองในเรื่องขุน
    ช้างขุนแผนทีเดียว
             กินกล้วยแฝดจะได้ลูกแฝด
           เรื่องนี้เป็นที่เกรงกลัวของผู้หญิงที่ตั้งครรภ์กันมาก
     เพราะถูกผู้ใหญ่ปลูกฝัง และสืบทอดกันมาว่าเวลาท้อง
    ถ้ากินกล้วยแฝดแล้วลูกออกมาจะเป็นลูกแฝด ผู้หญิงส่วน
    ใหญ่ ที่ไม่อยากมีลูกแฝดจึงพยายามหลีกเลี่ยงไม่ยอมกิน
    กล้วยแฝดกัน


    การปลูกกล้วย

    วิธีปลูก รักษา ดูแลกล้วย
                  การปลูกด้วยหน่อ   ที่ขุดแยกออกมาจากต้นแม่ ควรเลือกหน่อที่สมบูรณ์ แต่ยังสูงนักเลือกหน่อ
    กล้วยที่ใบเล็ก ๆ เรียว ที่เรียกว่าหน่อใบดาบ ซึ่งจะสูงประมาณ
    2-3 ฟุต เพราะถ้าใช้หน่อที่โตเกินไป อาจจะทำให้กล้วยชะงัก
    การเจริญเติบโตได้ การปลูกกล้วยด้วยหน่อนั้นถ้าต้องการให้กล้วย
    ออกเครือในทิศทางเดียวกัน ก็ให้ปลูกโดยหันรอยแผลของหน่อไว้
    ในทิศทางเดียวกันกล้วยก็จะออกใน ทิศทางตรงกันข้ามกับรอยแผลเหมือนกัน
    หมดซึ่งจะสะดวกต่อการตัดเครือ ในภายหลัง 
               การปลูกด้วยเมล็ด วิธีนี้ไม่ค่อยนิยมกันมากนักเหมาะกับกล้วย บางชนิด
    เท่านั้นอาจใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านที่เคยทำกันมาแต่ก่อน ด้วยการเพาะเมล็ดพันธุ์
    ในกระทงใบกล้วย กระบอกไม้ไผ่ หรือเพาะบนแปลงทดลองหลังจากต้นอ่อนเติบ
    โตสูง
                                      ได้ประมาณ 1 ฟุต ก็แยกลงหลุมปลูกต่อไป
                                                 การปลูกโดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นวิธีการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการทาง
                    วิทยาศาสตร์ซึ่งจะเป็นที่นิยม กันมากในอนาคต เพราะสามารถขยายพันธุ์กล้วยได้ เป็น
    จำนวนมาก
                   ได้กล้วยพันธุ์แท้ และคุณภาพดี เราอาจจะใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ทดลองการเพาะเนื้อเยื่อ
    ตาม
    กระบวนการหรือติดต่อขอซื้อต้นพันธุ์ จากหน่วยงานทางการเกษตรที่เพาะเนื้อเยื่อมาปลูกได้ 

    กล้วย

    สรรพคุณของกล้วย

    วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

    กล้วย

    กล้วย
    กล้วย เป็นพรรณไม้ล้มลุกในสกุล Musa มีหลายชนิด เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยน้ำไท กล้วยหอมทอง กล้วยหอมเขียว กล้วยไข่ กล้วยตานี กล้วยหักมุก กล้วยเล็บมือนาง กล้วยนิ้วมือนาง กล้วยส้ม กล้วยนาค กล้วยหิน กล้วยงาช้าง ฯลฯ บางชนิดก็ออกหน่อแต่ว่าบางชนิดก็ไม่ออกหน่อ ใบแบนยาวใหญ่ ก้านใบตอนล่างเป็นกาบยาวหุ้มห่อซ้อนกันเป็นลำต้น ออกดอกที่ปลายลำต้นเป็น ปลี และมักยาวเป็นงวง มีลูกเป็นหวี ๆ
    อาหารที่ทำจากกล้วย
    ส่วนต่างๆของกล้วยนำมาทำอาหารได้หลายส่วน ทั้งหัวปลี หยวกกล้วย ผลทั้งสุกและดิบ ตัวอย่างเช่น กล้วยแขก กล้วยบวชชี กล้วยปิ้ง กล้วยตาก กล้วยเชื่อม ข้าวเม่าทอด กล้วยทอด
    การใช้ประโยชน์
    กล้วยเป็นพืชที่ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ใบตองใช้ห่ออาหารและทำงานฝีมือหลายชนิด ลำต้นใช้ทำเชือกกล้วย กระทง
                                             

    วันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2554

    วันโอโซน

    วันโอโซน

    ประวัติความเป็นมาวันโอโซน (16 กันยายน)เพื่อเป็นการพิทักษ์บรรยากาศชั้น
    โอโซนนานาประเทศ ได้ร่วมกันจัดทำอนุสัญญาการป้องกันชั้นบรรยากาศโอโซน
    ขึ้นในปี ค.. 1985 (.. 2528)เรียกว่า "อนุสัญญาเวียนนาและพิธีสารว่าด้วยการ
    เลิกใช้สารทำลายชั้นโอโซน" ขึ้นในปี ค.. 1987 (.. 2530) เรียกว่า "พิธีสารมอล
    ทรีออล"
    สาระสำคัญของอนุสัญญาเวียนนานับว่าเป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่มุ่งมั่นในการพิทักษ์ ชั้นโอโซน และเป็นเครื่องมือทางกฎหมายข้อแรกที่กลายเป็นรูปแบบของการแก้ปัญหา
    สิ่งแวดล้อมร่วมกัน ปัจจุบันมีประเทศที่ร่วมให้สัตยาบันแล้วรวม 131 ประเทศ นั่นหมาย
    ถึง ชุมชนโลกส่วนใหญ่ ได้พร้อมใจกันที่จะพิทักษ์ ชั้นโอโซนแล้ว พิธีสารมอลทรีออลเป็น ส่วนหนึ่งของอนุสัญญาเวียนนาฯ

    ประเทศไทยได้ร่วมลงนามในพิธีสารนี้ เมื่อวันที่ 15 กันยายน 2531 และให้สัตยาบัน เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม 2532 มีผลบังคับใช้ต่อประเทศไทยเมื่อวันที่ 2 ตุลาคม 2532 ผลของพิธีสารในขั้นต้นสารเคมี ที่ถูกควบคุมคือ สาร CFC (Chlorofluorcarbon) รวม 5 ชนิดและสารฮาลอน (Halon) 3 ชนิด รวมสารควบคุมทั้งสิ้น 8 ชนิด
    1. เพื่อกระตุ้น ให้ประเทศปฏิบัติต่ออนุสัญญาว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก
    2. เพื่อช่วยกันลดใช้สารซี เอฟ ซี และสารฮาลอนซึ่งเป็นตัวทำลายบรรยากาศโอโซนนชั้นบรรยากาศ

    วันจันทร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2554

    ก๊าซชีวภาพ

    ก๊าซชีวภาพ
    ก๊าซชีวภาพ (อังกฤษ: Biogas หรือ digester gas) หรือ ไบโอก๊าซ คือ ก๊าซที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติจาก
    การหมักย่อยสลายของสารอินทรีย์ภายใต้สภาวะที่ปราศจากออกซิเจน(anaerobic digestion) โดยทั่วไปจะ
    หมายถึง ก๊าซ มีเทน ที่เกิดจาก การหมัก (fermentation) ของ สารอินทรีย์ โดยกระบวนการนี้สามารถเกิดขึ้นได้
    ในหลุมขยะ กองมูลสัตว์ และก้นบ่อแหล่งน้ำนิ่ง กล่าวคือเมื่อไหร่ก็ตามที่มีสารอินทรีย์หมักหมมกันเป็นเวลานานก็อาจ
    เกิดก๊าซชีวภาพ แต่นี่เป็นเพียงแค่หลักการทางทฤษฏี
    องค์ประกอบส่วนใหญ่เป็นแก๊สมีเทน(CH4) ประมาณ 50-70% และก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์(CO2)ประมาณ
     30-40% ส่วนที่เหลือเป็นแก๊สชนิดอื่น ๆ เช่น ไฮโดเจน(H2) ออกซิเจน(O2) ไฮโดรเจนซัลไฟด์(H2S) ไนโตรเจน
                                   

    วันจันทร์ที่ 15 สิงหาคม พ.ศ. 2554

    ข้าว

    ข้าว
    ข้าว เป็นพืชล้มลุกตระกูลหญ้าที่สามารถกินเมล็ดได้ ถือเป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยวเช่นเดียวกับหญ้า ต้นข้าวมีลักษณะ
    ภายนอกบางอย่าง เช่น ใบ กาบใบ ลำต้น และรากคล้ายต้นหญ้า ในประเทศไทย ข้าวหอมมะลิมีสายพันธุ์ในประเทศ
    และเป็นที่นิยมไปทั่วโลก
    หากแบ่งตามนิเวศน์การปลูก จะแบ่งได้ 7 ประเภท คือ
    1. ข้าวนาสวน ข้าวที่ปลูกในนาที่มีน้ำขังหรือกักเก็บน้ำได้ระดับน้ำลึกไม่เกิน 50 เซนติเมตร ข้าวนาสวนมีปลูก
    2. ทุกภาคของประเทศไทย แบ่งออกเป็น ข้าวนาสวนนาน้ำฝน และข้าวนาสวนนาชลประทาน
    3. ข้าวนาสวนนาน้ำฝน ข้าวที่ปลูกในฤดูนาปี และอาศัยน้ำฝนตามธรรมชาติ ไม่สามารถควบคุมระดับน้ำได้
    4. ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับ การกระจายตัวของฝน ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวนาน้ำฝนประมาณ 70% ของพื้นที่ปลูกข้าว
    5. ทั้งหมด
    6. ข้าวนาสวนนาชลประทาน ข้าวที่ปลูกได้ตลอดทั้งปีในนาที่สามารถควบคุมระดับน้ำได้ โดยอาศัยน้ำจาก
    7. การชลประทาน ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวนาชลประทาน 24% ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมด และพื้นที่ส่วนใหญ่
    8. จะอยู่ในภาคกลาง
    9. ข้าวขึ้นน้ำ ข้าวที่ปลูกในนาที่มีน้ำท่วมขังในระหว่างการเจริญเติบโตของข้าว มีระดับน้ำลึกตั้งแต่ 1-5 เมตร
    10. ข้าวน้ำลึก ข้าวที่ปลูกในพื้นที่น้ำลึก ระดับน้ำในนามากกว่า 50 เซนติเมตร แต่ไม่เกิน 100 เซนติเมตร
    11. ข้าวไร่ ข้าวที่ปลูกในที่ดอนหรือในสภาพไร่ บริเวณไหล่เขาหรือพื้นที่ซึ่งไม่มีน้ำขัง ไม่มีการทำคันนาเพื่อกักเก็บ
    12. น้ำ
    13. ข้าวนาที่สูง ข้าวที่ปลูกในนาที่มีน้ำขังบนที่สูงตั้งแต่ 700 เมตรเหนือระดับน้ำทะเลขึ้นไป พันธุ์ข้าวนาที่สูงต้อง
                                                      
    ข้าวตังหน้าตั้ง  
    ครื่องปรุง1. หัวกะทิ 1 กล่อง
    2 . รากผักชี 2 ช้อนชา
    3. กระเทียม 3 กลีบใหญ่
    4. พริกไทย 1 ช้อนชา
    5. เกลือ 1 ช้อนชา
    6. หอมแดงสับละเอียด
    7. แห้วต้มหั่นสี่เหลี่ยมลูกเต๋า
    8. กุ้งสดสับละเอียด
    9. สาหร่ายเกลียวทอง 5-6 แคปซูล
    10. น้ำมะขามเปียก 1 ช้อนโต๊ะ
    11. น้ำตาลปิ๊บ 1 ช้อนโต๊ะ
    12. แผ่นข้าวตัง 30 แผ่น

    วิธีทำ
    1. ทอดแผ่นข้าวตังในน้ำมันร้อนปานกลาง
    2. ตำรากผักชี + กระเทียม + พริกไทย + เกลือ ให้ละเอียด
    3. แป้งกะทิประมาณ 1 ถ้วยตวง ตั้งไฟให้เดือด คนอย่าให้กะทิเป็นก้อน
    4. ใส่เครื่องที่ตำไว้ลงไปผัดให้หอม แล้วใส่หอมแดงลงไป ผัดให้สุก ตามด้วยกุ้งสับ ซึ่งสีของเครื่องที่ผัดจะออกแดงๆ (ถ้ามีมันกุ้งจะเพิ่มสีสันให้สวยงาม)
    5. ใส่แห้วและสาหร่ายเกลียวทองลงไป คนให้เข้ากัน ตอนนี้สีจะเริ่มออกเขียวอ่อนๆ
    6. ปรุงรสด้วยน้ำมะขามเปียก และน้ำตาลปิ๊ป ชิมให้รสกลมกล่อมอมเปรี้ยวอมหวาน (ถ้าอ่อนเค็มให้เติมเกลือได้เล็กน้อย ถ้าน้ำแห้งให้เติมกะทิลงไป) คนให้หน้าตั้งเป็นน้ำขลุกขลิกใส่ถั่วลิสงลงไปคั่วเป็นลำดับสุดท้าย
    7. ตักหน้าตั้งใส่ถ้วย (ถ้าชอบกะทิสดอาจหยอดลงไปเล็กน้อย) แต่งหน้าด้วยใบผักชี จัดข้าวตั้งใส่จาน แค่นี้ก็พร้อมรับประทานได้แล้ว