วันจันทร์ที่ 28 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

ไม้ไผ่

ไผ่ในประเทศ
ในประเทศไทยนั้น พบไผ่อยู่ 30 ชนิด ดังนี้
  ไผ่ข้าวหลาม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cephalostachyum pergracile )

  • ไผ่คายดำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gigantochloa compressa)

  • ไผ่โจด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Arundinaria cililta)

  • ไผ่ซาง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus strictus)

  • ไผ่ซางคำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus latiflorus)

  • ไผ่ซางนวล (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus membranaceus)

  • ไผ่ซางหม่น (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus sericeus )

  • ไผ่ตง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus aspe)

  • ไผ่ตากวาง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gigantochloa kurzii)

  • ไผ่บง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa nutans)

  • ไผ่บงคาย (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gigantochloa hosseusii)

  • ไผ่บงดำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa tulda)

  • ไผ่บงป่า (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa longispatha)

  • ไผ่บงหนาม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa burmanica)

  • ไผ่ป่า (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa bambos)

  • ไผ่เพ็ก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Vietnamosasa pusilla)

  • ไผ่รวก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Thyrsostachys siamensis)

  • ไผ่รวกดำ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Thyrsostachys oliveri)

  • ไผ่ไร่ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Gigantochloa albociliata)

  • ไผ่ลำมะลอก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa longispiculatar)

  • ไผ่เลี้ยง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa mulfiplex)

  • ไผ่หวาน (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa sp.)

  • ไผ่สีสุก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa blumeana)

  • ไผ่หก (ชื่อวิทยาศาสตร์: Dendrocalamus hamiltonii)

  • ไผ่หลอด (ชื่อวิทยาศาสตร์: Neohouzeaua mekongensis)

  • ไผ่หอม (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa polymorpha)

  • ไผ่เหลือง (ชื่อวิทยาศาสตร์: Bambusa vulgaris)

  • ไผ่เฮียะ (ชื่อวิทยาศาสตร์: Cephalostachyum virgatum)

  • อ้างอิง
    http://th.wikipedia.org/wiki

    วันจันทร์ที่ 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

    แกะสลัก มะละกอ

    แกะสลัก มะละกอ
                                                         
    ลายผีเสื้อบาน
            ดอกตูม             
    ดอกรักเร่               

    ประโยชน์และความสำคัญ

    ประโยชน์และความสำคัญ
    
    มะละกอเป็นพืชที่เป็นได้ทั้งผักและผลไม้ โดยผล ดิบส่วนใหญ่จะใช้ เป็นผัก ที่ทำ ประโยชน์หรือ ทำอาหาร ได้มากมาย ส่วนผลสุกใช้เป็น ผลไม้ มีรสชาติอร่อย
     และยังมีวิตามินสูงอีกด้วย
    พันธุ์ที่นิยมปลูก
    ถึงแม้ว่ามะละกอจะมีมากมายหลายพันธุ์ แต่เนื่องจากมะละกอเป็นพืชที่มีความ ไว่ต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพแวดล้อม
    จึงมีอยู่ไม่กี่พันธุ์เท่านั้นที่เหมาะกับสภาพดินฟ้า อากาศของบ้านเรา คือ พันธุ์พื้นเมือง พันธุ์แขกดำ พันธุ์โกโก้ และพันธุ์
    สายน้ำผึ้ง

    มะละกอสร้างชาติ




                                      
                                                         
    ลักษณะทั่วไป
    มะละกอเป็นไม้ล้มลุก (บางครั้งอาจเข้าใจผิดว่าเป็นไม้ยืนต้น) ใบมีลักษณะเป็นใบเดี่ยว 5-9 แฉก
    เกาะกลุ่มอยู่ด้านบนสุดของลำต้น ภายในก้านใบและใบมียางเหนียวสีขาวอยู่ มะละกอบางต้นอาจมีดอก
    เพียงเพศเดียว แต่บางต้นอาจมีดอกได้ทั้งสองเพศก็ได้ ผลเป็นรูปรี อาจหนักได้ถึง 9 กิโลกรัม ผลดิบมีสีเขียว
     และมีน้ำยางสีขาวสะสมอยู่ที่เปลือก ส่วนผลสุก เนื้อในจะมีสีเหลืองถึงส้ม มีเมล็ดสีดำเล็ก ๆ อยู่ภายในกิน
    ไม่ได้
    ประโยชน์
    นอกจากการนำมะละกอไปรับประทานสด ๆ แล้ว เรายังสามารถนำไปปรุงอาหาร เช่น ส้มตำ แกงส้ม ฯลฯ
    หรือนำไปหมักเนื้อให้นุ่มได้อีกด้วย เพราะในมะละกอมีเอนไซม์ชนิดหนึ่งเรียกว่า พาเพน (Papain) ซึ่ง
    สามารถนำเอนไซม์ชนิดนี้ไปใส่ในผงหมักเนื้อสำเร็จรูป บางครั้งนำไปทำเป็นยาช่วยย่อยสำหรับผู้ที่มีปัญหา
    อาหารไม่ย่อยก็ได้
    มะละกอ
    (อังกฤษ: Papaya, คำเมือง: เป็นไม้ผลชนิดหนึ่ง สูงประมาณ 5-10 เมตร มีถิ่นกำเนิดในอเมริกากลาง
    ถูกนำเข้าสู่ประเทศไทยในสมัยกรุงศรีอยุธยา ผลดิบมีสีเขียว เมื่อสุกแล้วเนื้อในจะมีสีเหลืองถึงส้ม
    นิยมนำมารับประทานทั้งสดและนำไปปรุงอาหาร เช่น ส้มตำ ฯลฯ หรือนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่น ๆ
    ก็ได้

    กล้วย

    สายพันธุ์กล้วย
    
    ในเมืองไทยเรานี้มีกล้วยอยู่มากมายหลายพันธุ์ บางท่านอาจจะรู้จักแต่ กล้วยหอม กล้วยน้ำว้า กล้วยไข่ แต่ความจริงแล้วยังมีกล้วยอีกหลายชนิด ทั้งกล้วยที่ทานได้ กล้วยประดับตกแต่งหรือกล้วยสวยงามนั่นเอง และอีกทั้งในกล้วยหอม หรือกล้วยน้ำว้าก็ตาม ยังสามารถแตกออกได้อีกเป็นหลายพันธุ์
    ในสวนลุงตี๋ได้รวบรวมพันธุ์ของกล้วยต่างๆไว้ ดังนี้
                       1 กล้วยหอมทอง
                        2 กล้วยหอมเชียงราย หรือ กล้วยหอมกะเหรี่ยง
                    3 กล้วยน้ำว้าค่อม
                       4 กล้วยน้ำว้าดำ
                                             

    ความเชื่อเกี่ยวกับกล้วย


    ความเชื่อเกี่ยวกับกล้วย
         นางพรายตานี
          เชื่อกันว่า นางพรายตานี เป็นผีที่อาศัยอยู่ในต้นกล้วยตานีเป็นผีผู้หญิง หน้าตาสวยงาม ผิวขาว
    มักจะปรากฏให้เห็นตอนกลางคืนโดยจะออกมายืน หรือนั่งเล่นอยู่ใต้ต้นกล้วยตานี มีข้อสังเกตุว่า
    ต้นกล้วยที่มีนางพรายตานีสิงอยู่มักจะมีลำต้นสะอาด ไม่มีกาบแห้ง ใบของกล้วยจะเขียวสดใส และ
    บริเวณรอบต้นกล้วยก็จะสะอาด โล่งเตียน
     กุมารทองตานี
          กุมารทองตานี ได้มาจากปลีกล้วยตานี ซึ่งแทนที่จะ
    แทงปลีออกจากยอดบนสุดของต้นกล้วย แต่กลับแทงปลี
    ออกมาจากลำต้น เชื่อกันว่า ปลีกล้วยชนิดนี้จะมีกุมาร
    ทองสิงสถิตอยู่ หากผู้ใดนำไปเลี้ยงดูแลรักษาให้ดีจะ
    ทำคุณให้แก่ผู้นั้น เช่นเดียวกับกุมารทองในเรื่องขุน
    ช้างขุนแผนทีเดียว
             กินกล้วยแฝดจะได้ลูกแฝด
           เรื่องนี้เป็นที่เกรงกลัวของผู้หญิงที่ตั้งครรภ์กันมาก
     เพราะถูกผู้ใหญ่ปลูกฝัง และสืบทอดกันมาว่าเวลาท้อง
    ถ้ากินกล้วยแฝดแล้วลูกออกมาจะเป็นลูกแฝด ผู้หญิงส่วน
    ใหญ่ ที่ไม่อยากมีลูกแฝดจึงพยายามหลีกเลี่ยงไม่ยอมกิน
    กล้วยแฝดกัน


    การปลูกกล้วย

    วิธีปลูก รักษา ดูแลกล้วย
                  การปลูกด้วยหน่อ   ที่ขุดแยกออกมาจากต้นแม่ ควรเลือกหน่อที่สมบูรณ์ แต่ยังสูงนักเลือกหน่อ
    กล้วยที่ใบเล็ก ๆ เรียว ที่เรียกว่าหน่อใบดาบ ซึ่งจะสูงประมาณ
    2-3 ฟุต เพราะถ้าใช้หน่อที่โตเกินไป อาจจะทำให้กล้วยชะงัก
    การเจริญเติบโตได้ การปลูกกล้วยด้วยหน่อนั้นถ้าต้องการให้กล้วย
    ออกเครือในทิศทางเดียวกัน ก็ให้ปลูกโดยหันรอยแผลของหน่อไว้
    ในทิศทางเดียวกันกล้วยก็จะออกใน ทิศทางตรงกันข้ามกับรอยแผลเหมือนกัน
    หมดซึ่งจะสะดวกต่อการตัดเครือ ในภายหลัง 
               การปลูกด้วยเมล็ด วิธีนี้ไม่ค่อยนิยมกันมากนักเหมาะกับกล้วย บางชนิด
    เท่านั้นอาจใช้ภูมิปัญญาชาวบ้านที่เคยทำกันมาแต่ก่อน ด้วยการเพาะเมล็ดพันธุ์
    ในกระทงใบกล้วย กระบอกไม้ไผ่ หรือเพาะบนแปลงทดลองหลังจากต้นอ่อนเติบ
    โตสูง
                                      ได้ประมาณ 1 ฟุต ก็แยกลงหลุมปลูกต่อไป
                                                 การปลูกโดยวิธีเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เป็นวิธีการขยายพันธุ์ด้วยวิธีการทาง
                    วิทยาศาสตร์ซึ่งจะเป็นที่นิยม กันมากในอนาคต เพราะสามารถขยายพันธุ์กล้วยได้ เป็น
    จำนวนมาก
                   ได้กล้วยพันธุ์แท้ และคุณภาพดี เราอาจจะใช้ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ทดลองการเพาะเนื้อเยื่อ
    ตาม
    กระบวนการหรือติดต่อขอซื้อต้นพันธุ์ จากหน่วยงานทางการเกษตรที่เพาะเนื้อเยื่อมาปลูกได้ 

    กล้วย

    สรรพคุณของกล้วย

    วันจันทร์ที่ 7 พฤศจิกายน พ.ศ. 2554

    กล้วย

    กล้วย
    กล้วย เป็นพรรณไม้ล้มลุกในสกุล Musa มีหลายชนิด เช่น กล้วยน้ำว้า กล้วยน้ำไท กล้วยหอมทอง กล้วยหอมเขียว กล้วยไข่ กล้วยตานี กล้วยหักมุก กล้วยเล็บมือนาง กล้วยนิ้วมือนาง กล้วยส้ม กล้วยนาค กล้วยหิน กล้วยงาช้าง ฯลฯ บางชนิดก็ออกหน่อแต่ว่าบางชนิดก็ไม่ออกหน่อ ใบแบนยาวใหญ่ ก้านใบตอนล่างเป็นกาบยาวหุ้มห่อซ้อนกันเป็นลำต้น ออกดอกที่ปลายลำต้นเป็น ปลี และมักยาวเป็นงวง มีลูกเป็นหวี ๆ
    อาหารที่ทำจากกล้วย
    ส่วนต่างๆของกล้วยนำมาทำอาหารได้หลายส่วน ทั้งหัวปลี หยวกกล้วย ผลทั้งสุกและดิบ ตัวอย่างเช่น กล้วยแขก กล้วยบวชชี กล้วยปิ้ง กล้วยตาก กล้วยเชื่อม ข้าวเม่าทอด กล้วยทอด
    การใช้ประโยชน์
    กล้วยเป็นพืชที่ใช้ประโยชน์ได้หลากหลาย ใบตองใช้ห่ออาหารและทำงานฝีมือหลายชนิด ลำต้นใช้ทำเชือกกล้วย กระทง